วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเกิดของทัศนคติ



1. ประสบการณ์เฉพาะอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงกับบุคคล
2. การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น – เพื่อน, อิทธิพลของสื่อสารมวลชน โดยมีการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมหลังจากนั้น
3. รูปแบบ (Model) – การเฝ้าดู และการเลียนแบบ
4. องค์ประกอบของสถาบัน – โรงเรียนเป็นที่อบรมสั่งสอนเด็กให้เป็นคนดี และพัฒนาบุคคล
ในสังคม
ทัศนคติกับพฤติกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเชิงประมาณค่า กับ พฤติกรรม ที่แสดงมาอย่างสอดคล้อง
กัน คือรู้สึกอย่างไรก็แสดงมาอย่างนั้น

ทัศนคติ (Attitude)

ความหมาย ลักษณะ และองค์ประกอบของทัศนคติ
ทัศนคติเป็นความเชื่อ และความรู้สึกเชิงประมาณค่าที่เป็นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ ทำ ให้
บุคคลพร้อมที่จะแสดงออกตอบโต้ต่อสิ่งต่างๆ ทัศนคติเป็นนามธรรมและเป็นตัวการสำคัญอันหนึ่งที่
เป็นเครื่องมือกำหนดพฤติกรรมของบุคคล

องค์ประกอบของทัศนคติ มี 3 ประการ
1. ด้านความรู้ – ถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆนั้น เราจะมีทัศนคติต่อสิ่งนั้นไม่ได้
2. ด้านความรู้สึก – เป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ
3. ด้านการกระทำ – เมื่อมีทัศนคติในทางใดต่อสิ่งใดแล้ว จะออกมาในลักษณะกระทำ หรือ
งดเว้นไม่กระทำ
การ

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เคยรู้สึก....แบบนี้ไหม?


"ตลอดเวลาที่ผ่านมา ...เคยถามตัวเองหลายครั้ง ว่าทำไม?....

ยังรัก ยังแคร์ คนที่ทำร้ายหัวใจเรา

แต่สุดท้าย....ก็ ได้คำตอบเดิมกลับมา

เพราะ॥"เรารักเขา" แค่นั้นเองที่เป็นเหตุผลให้เรายังอยู่ตรงนี้

และยังยืนยันที่จะรักเธอต่อไป॥แม้จะต้องถูกทำร้ายอีกก็ตาม


(ta.Bomp) การที่จะรู้สึกกับใครอย่างนี้...มันคงไม่ใช่เรื่องยาก

ถ้าเรารักใครสักคนหนึ่งจริงๆ....แต่มันคงเป็นเรื่องยาก

ที่จะรู้สึกอย่างนี้ ได้...ถ้าเราไม่ได้รักใครเลยจริงๆ

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หลักสำคัญของการบริหาร องค์กร





หลักการจัดการองค์การ
- การวางแผนงาน มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด
- กำหนดนโยบาย
- มีการกำหนดงบประมาณ
- กำหนดเวลาเริ่มต้น
- กำหนดรายละเอียดของงาน
- กำหนดหัวหน้าโครงการ


หลักการของโครงการ Organizing
- จัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน
- การจัดการองค์การ

หลักของการควบคุมงาน
- ต้องกำหนดมาตรฐานในภาคปฏิบัติงาน
- ต้องมีการตรวจและประเมินผลงานเป็นประจำ
- ต้องมีการแก้ไขและขจัดอุปสรรคต่างๆ

หลักของการประสานงาน
- การกำหนดดุลยภาพ
- กำหนดระยะเวลา
- การทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หลักการจูงใจ
- การมีส่วนร่วม
- การปรึกษาหารือ
- การสอนงาน
- การลงโทษ

ปัญหาคือ อะไร


ปัญหา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในลักษณะ ที่ตนยังมีช่องว่าง ไม่สามารถมองเห็น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และไม่รู้ว่าวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่ตกนั้นได้


ปัญหา เกิดขึ้น และมีอุปสรรคขัดขวางทำให้เราไม่สามารถก้าวไปถึงจุดหมายที่กำหนดให้


ปัญหา คือ การที่บุคคลไม่สามารถ นำเอาความรู้เดิม หรือ ประสบการณ์เดิมมาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้ ทำให้เกิดความวุ่นวายสับสน คือ ตัวปัญหาคือมา


เทบอมบ์....

การเรียนรู้จะเกิดผลดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ผู้เรียนต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเรียน

2. สิ่งที่เรียนนั้นตรงกับ ความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Wants)

3. การเรียนรู้จะต้องมีความหมาย มีคุณค่า มีประโยชน์มากสำหรับตัวผู้เรียน

4. ผู้เรียนควรเข้าใจจุดมุ่งหมาย เป้าหมายที่แน่ชัดว่า เรียนไปทำประโยชน์อะไร

5. ความรู้ที่จะให้กับชาวบ้านนั้น ควรตรงกับสติปัญญา วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ

6. ความรู้ใหม่ที่จะให้กับตัวผู้เรียนนั้น ควรมีความรู้หรือมีประสบการณ์เดิมอยู่บ้าง

7. การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้ด้วยการกระทำ ( Learning by doing)

8. เมื่อเรียนรู้ด้วยการกระทำแล้ว ยังมีการฝึกฝนด้วยการกระทำซ้ำบ่อยๆ เพิ่มความชำนาญ

9. การเรียนรู้ที่ดีควรมีการเรียนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหาสิ่งที่เป็นนามธรรม

10. เรียนรู้สิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยุ่งยากตามลำดับชั้น เพื่อให้การเรียนการสอนได้ผลสมบูรณ์ควรแนะนำหรือสอนง่ายๆ แล้วค่อยๆ ทวีความยากขึ้นทีละน้อย ๆ ตามลำดับ

11. สอนตามหลักจิตวิทยาการศึกษาหรือหลักการเรียนรู้โดยมีการจัดลำดับการเรียนรู้ ตามหลักที่ว่าผู้เรียนควรจะเรียนรู้เรื่องใดก่อนหลัง นอกจากนั้นยังต้องจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย

12. การเรียนรู้ที่ดีควรใช้อุปกรณ์การสอนหรือสื่อสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสาร ฯลฯ

SNP BOMP